cr.https://www.ablenet.co.th/2023/05/02/deploy-vmware-vcenter-server-on-esxi-host/
บทความนี้ จะมาอธิบายวิธีการลง VMware vCenter Server แต่ก่อนจะไปถึงวิธีการลง เรามาทำความรู้จัก VMware vCenter Server แบบคร่าวๆกันก่อนดีกว่า
VMware vCenter Server คืออะไร?
- VMware vCenter Server คือ product ของ VMware ซึ่งมีหน้าที่ในการจัดการกับ product อื่นๆของ VMware เช่น VMware ESXi, vSphere Storage, VM ทั่วๆไป หรือแม้แต่จัดการกับ vCenter อื่นๆก็สามารถทำได้ โดยคุณสมบัติหลักของ vCenter Server มีดังนี้
- vSphere vSphere High Availability (HA)
- vSphere Distributed Resource Scheduler (DRS)
- vSphere Storage DRS (SDRS)
- vSphere vMotion (Host and Storage)
- vSphere Fault Tolerance (FT)
วิธีการลง VMware vCenter Server
Step 1: เตรียม ESXi Server สำหรับการลง vCenter ให้พร้อม
Step 2: Mount File vCenter ซึ่งสามารถดาวน์โหลดได้จาก ที่นี่
Step 3: เข้าไปที่ Path ดังรูป แล้วดับเบิ้ลคลิกไฟล์ installer.exe
Step 4: จะปรากฎเมนูดังรูป กด Install
Step 5: การ Install แบ่งเป็น 2 Stage ดังนี้
- Stage 1: เป็นการ Deploy new appliance
- Stage 2: เป็นการ Setup appliance ที่ Deploy เสร็จแล้ว
จากนั้นกด Next เพื่อเข้าสู่ Stage ที่ 1
Step 6: เลือก Type การ Deploy (แนะนำเป็นแบบ Embedded)
Step 7: กรอกข้อมูล ESXi Server ที่ใช้สำหรับลง vCenter
Step 8: กรอกชื่อ และ Root password ของ VM
Step 9: เลือก Deployment size โดยให้ดูจาก จำนวน Hosts และ VMs ที่ต้องการให้ vCenter บริหารจัดการ จากนั้นค่อยจัดหาทรัพยากรที่เหมาะสม ตัวอย่างเช่น
- ในระบบต้องการบริหารจัดการ 50 Hosts และ 400 VMs ให้เลือก Deployment size เป็น “small” และจัดหา Server สำหรับ vCenter ที่รองรับการ Deploy แบบ small เป็นต้น
Step 10: เลือก Datastore
Step 11: ตั้งค่า Network ที่ใช้
Step 12: Deploy vCenter (ใช้เวลาประมาณ 1 – 2 ชม. ขึ้นอยู่กับ Hardware ของ Server นั้น ๆ)
Step 13: เมื่อ Deploy เสร็จ ให้กด Continue
Step 14: จากนั้นจะเข้าสู่ Stage 2 ให้คลิก Next
Step 15: เลือก Sync เวลาของ vCenter (สามารถเลือก Sync เวลากับ ESXi หรือ NTP Server ได้)
Step 16: กรอกข้อมูล Domain และ Password สำหรับการ Login เข้า vCenter
Step 17: ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล แล้วคลิก Finish (แนะนำให้ Capture ข้อมูลส่วนนี้ไว้)
Step 18: สิ้นสุดการ Setup สามารถกด Appliance Get Start Page เพื่อ Login เข้า vCenter Server หรือกด Close เพื่อปิดหน้าต่างนี้ได้
Step 19: จะปรากฎหน้าต่างของ VMware ให้คลิก Launch Vsphere Client (HTML5)
Step 20: จะประกฎหน้าต่าง Vsphere Client ให้ใส่รหัส administrator@domain.local (สามารถกลับไปดูได้ใน Step )
Step 21: จะปรากฎหน้าต่าง vCenter Server พร้อมใช้งาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น